เมนู

ในกัปที่ 56 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 7 ครั้ง
พระนามว่ามหารหะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติมิรปุปผิยเถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ 9


81. อรรถกถาติมิรปุปผิยเถราหทาน


อปทานของท่านพระติมิรปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคา-
นทีตีเร
ดังนี้.
อะไรเป็นอุปัตติเหตุ ? พระเถระนี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระ-
พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสับแก่พระนิพพานใน
ภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย ละการครองเรือน บวชเป็นดาบส อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคานที.
เพราะท่านเป็นผู้ใคร่วิเวก ไปสู่ป่าหิมพานต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ประทับอยู่แล้ว ถวายบังคม เลื่อมใสคุณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถือเอาดอกดีหมีบูชา. ด้วยบุพกรรมนั้น ท่าน
เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริ้วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
ความแห่งคำนั้น ท่านกล่าวแล้วในหนหลังแล. บทว่า อนุโสตํ วชามหํ
ความว่า เราได้ไปอยู่ในที่นั้น ๆ ตามกระแสภายใต้แม่น้ำคงคา เพราะ
เป็นที่น่ารื่นรมย์ในที่ทุกสถาน เคยเป็นที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคา. บทว่า
นิสินฺนํ สมณํ ทิสฺวา ความว่า เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าว
คือพระสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป คือเพราะเป็นผู้ทำบาปให้เหือดแห้ง.
บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตทา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้
พระองค์เองข้ามพันแล้ว จักยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพันจากสงสาร คือ
พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์ทรงฝึกพระองค์เองด้วยกายทวารแล้ว ทรง
ฝึกสัตว์เหล่าอื่นด้วย.
นี้เป็นอรรถที่น่าโปร่งใจ คือถึงความโปร่งใจ. พระองค์พ้นแล้ว
จากความเร่าร้อนคือกิเลส ยังสัตว์ทั้งปวงให้โปร่งใจ คือ ให้ถึงความสงบ.
พระองค์ทรงสงบแล้ว คือมีกายจิตสงบแล้ว ย่อมยังกายจิตของสัตว์เหล่า
อื่นให้ถึงความสงบ. พระองค์พ้นแล้ว คือพ้นจากสงสาร จักให้สัตว์
เหล่าอื่นพ้นจากสงสาร. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นพระองค์เองดับสนิทแล้ว
คือดับจากไฟคือกิเลสทั้งหลาย จักให้สัตว์เหล่าอื่นดับจากไฟคือกิเลส
เพราะฉะนั้น ในกาลนั้น เราจึงคิดอย่างนี้.

บทว่า คเหตฺวา ติมิรปุปฺผํ ความว่า ชื่อว่าดอกดีหมี เพราะทำ
ชายป่าทั้งสิ้นให้เป็นดุจอาการมืด ด้วยรัศมีเขียวและดำครอบคลุม เราได้
ถือเอาดอกดีหมีแล้ว ถือขั้วดอกกรรณิการ์ แล้ว โปรยที่เบื้องบน คือเหนือ
พระเศียร บนอากาศบูชา. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติมิรปุปผิยเถราปทาน

คตสัญญกเถราปทานที่ 2 (82)


ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์ 7 ดอก


[84] เรามีอายุ 7 ปีโดยกำหนด บรรพชาเป็นสามเณร มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดา ได้โยน
ดอกไม้กรรณิการ์ 7 ดอกขึ้นไปในอากาศ อุทิศเฉพาะพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงพระคุณอนันต์ดังสาคร.

มีใจยินดีและเลื่อมใส บูชาหนทางที่พระสุคตเสด็จดำเนิน
ได้กระทำอัญชลีด้วยมือทั้งสองของตน.

ในกัปที่ 92 แต่กัปนี้ ได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ 8 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรคิ 3 ครั้ง มี
พระนามว่าอัคคิสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบคตสัญญกเถราปทาน